วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

 




ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง


"...การปลูกป่า 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือ นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4 ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย..."

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2523
ณ โรงแรมรินคำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


ผลดีของ  ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

พอกิน คือ การปลูกต้นไม้ที่กินได้ รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพร ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น แค มะรุม ทุเรียน สะตอ ผักหวาน ฝาง แห้ม กล้วย ฟักข้าว ไม้ผลต่าง ๆ

พอใช้ คือ การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าไม้ สำหรับทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน อาทิ ทำฟืน เผาถ่าน ทำงานหัตถกรรม หรือทำน้ำยาซักล้าง ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น มะคำดีควาย หวาย ไผ่ หมีเหม็น

พออยู่ คือ การปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยืนเพื่อใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน ต้นไม้กลุ่มนี้ เช่น ตะเคียนทอง ยางนา สัก พะยูง พยอม

พอร่มเย็น คือ ผลที่เกิดจากการปลูกป่า 3 อย่าง จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น และฉ่ำเย็นขึ้นมา


กระแสพระราชดำรัสดังกล่าวจึงเป็นแนวคิดการผสมผสานการอนุรักษ์ดิน น้ำ และการฟื้นฟู

ทรัพยากรป่าไม้ควบคู่กับความต้องการด้านเศรษฐกิจด้วยการจำแนกป่า ๓ อย่างคือ 

1) ป่าไม้ใช้สอย คือ ไม้โตเร็วสำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น สะเดา ไม้ไผ่ 

2) ป่าไม้กินได้ คือ ไม้ผล เช่น มะม่วง และผักกินใบต่าง ๆ

3) ป่าไม้เศรษฐกิจ คือ ไม้ที่ปลูกไว้ขายหรือไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก 


ประโยชน์ 4 อย่าง จำแนกประโยชน์ แต่ละอย่างออกเป็น 

1) ป่าไม้ใช้สอย นำมาสร้างบ้าน ทำเล้าเป็ด เล้าไก่ ด้ามจอบเสียม ทำหัตถกรรม หรือกระทั่งใช้เป็นเชื้อเพลิง (ฟืน) ในการหุงต้ม 

2) ป่าไม้กินได้ นำมาเป็นอาหาร ทั้งพืชกินใบ กินผล กินหัว และเป็นยาสมุนไพร 

3) ป่าไม้เศรษฐกิจ เป็นแหล่งรายได้ของครัวเรือน เป็นพืชที่สามารถนำมาจำหน่ายได้ ซึ่งควรปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคาตกต่ำและไม่แน่นอน 

4) ประโยชน์ในการช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกพืชที่หลากหลายอย่างเป็นระบบจะช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศในสวน ช่วยป้องกันผิวดินให้ชุ่มชื่นดูดซับน้ำฝนและค่อย ๆ ปลดปล่อยความชื้นสู่สวนเกษตรกรรม


การปลูกป่า 5 ระดับแบบกสิกรรมธรรมชาติ

ประกอบด้วยต้นไม้หลากหลายชนิดพันธุ์ โดยเราสามารถจัดแบ่งตามระดับช่วงความสูงและระบบนิเวศได้ 5 ระดับ ดังนี้

  1. ไม้สูง เป็นกลุ่มไม้เรือนยอดสูงสุดและอายุยืน ไม้ในระดับนี้ เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง รัง
  2. ไม้กลาง เป็นกลุ่มต้นไม้ที่ไม่สูงนัก ไม้ในระดับนี้ ได้แก่ บรรดาไม้ผลที่เก็บกินได้ เช่น มะม่วง ขนุน มังคุด กระท้อน ไผ่ สะตอ
  3. ไม้เตี้ย เป็นกลุ่มต้นไม้พันธุ์พุ่มเตี้ย ไม้ในระดับนี้ เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ติ้ว ผักหวานบ้าน เหลียง
  4. ไม้เลื้อยเรี่ยดิน ไม้ในระดับนี้เป็นตระกูลไม้ล้มลุกที่ทอดยอดเลื้อยได้ เช่น พริกไทย รางจืด ฟักทอง แตงกวา
  5. ไม้หัวใต้ดิน ไม้หัวอยู่ใต้ดิน ไม้ในระดับนี้ คือ มัน เผือก กลอย กวาวเครือ ขิง ข่า

ค้นคว้าจาก 

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ป่าไม้


ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ ถึง ๒๑ องศาเหนือ และลองจิจูด 97 ถึง 106 องศาตะวันออก 

มีเนื้อที่ประมาณ 513115 ตารางกิโลเมตร  


ประเทศไทยมีป่าไม้อยู่ ประเภทตามพฤติกรรมการผลัดใบ คือ ป่าไม่ผลัดใบ และ ป่าผลัดใบ

  1. ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) ประกอบด้วย

         1.1 ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest)

         1.2 ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)

         1.3 ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)

         1.4 ป่าสน (Coniferous Forest)

         1.5 ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Fresh Water Swamp Forest)

         1.6 ป่าชายเลน (mangrove forest หรือ intertidal forest)

         1.7 ป่าชายหาด (Beach Forest)

 

2. ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) ประกอบด้วย

        2.1 ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)

        2.2 ป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Forest)

        2.3 ป่าหญ้า (Savanna Forest)

 มีข้อมูลโดยย่อ ๆ ดังนี้



 


ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest)


 

ป่าดิบชื้น เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดและเป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี  มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ

ป่าดิบชื้น พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด 

ป่าดิบชื้น พบขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่มเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร)

ป่าดิบชื้น มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี 

ป่าดิบชื้น มีลักษณะรกทึบประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด สามารถแบ่งตามระดับได้ 3 ชั้น

ต้นไม้ชั้นบนส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์ยาง ตะเคียน มีลำต้นสูงใหญ่ตั้งตรง ตั้งแต่ 30-50 เมตร สำหรับ

ต้นไม้ชั้นกลาง เป็นไม้ต้นขนาดกลางและเล็ก สามารถขึ้นอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ได้ เช่น สัตบรรณ อินทนิล รวมทั้งต้นไม้ชนิดต่างๆ ในวงศ์ หมากหรือปาล์ม สุดท้ายคือ 

ต้นไม้และพืชชั้นล่าง เป็นพวกไม้พุ่ม พืชล้มลุก ระกำ หวาย ไผ่ต่างๆ เถาวัลย์ นอกจากนี้มักพบ พืชอิงอาศัย จำพวกเฟิน และมอส และอาจพบเห็ดราชนิดต่าง ๆ อีกด้วย



ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)


 

        ป่าดิบแล้ง มีลักษณะคล้ายกับป่าดิบชื้น เป็นป่าไม่ผลัดใบที่มีไม้ผลัดใบขึ้นแทรก 

        ป่าดิบแล้ง จะพบอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ตามที่ราบเชิงเขา ไหล่เขาและหุบเขา 

         ป่าดิบแล้ง มักอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร จนถึงพื้นที่ระดับความสูงไม่เกิน 950 เมตร

        ป่าดิบแล้ง โดยทั่วไปเป็นบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย1,000 ถึง 2,000 มิลลิเมตรต่อปี โดยจะมีช่วงแล้งนาน 3-4 เดือน 

        ป่าดิบแล้ง มีชั้นดินค่อนข้างลึกจึงสามารถเก็บกักน้ำได้ดีพอที่จะทำให้พรรณไม้บางชนิดสามารถคงใบอยู่ได้ตลอดช่วงที่แห้งแล้ง 

        ต้นไม้ชั้นบนสุด คือชั้นเรือนยอดสูง 25-40 เมตร เป็นพรรณไม้ในวงศ์ยาง เช่น ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน พะยอม มะค่าโมง ตะแบกแดง และพะยูง

        ต้นไม้ชั้นกลาง เป็นไม้พวกที่มีเรือนยอดสูง 10-20 เมตร เช่น ตะคร้ำ กรวย ข้าวสารหลวง พลองใบเล็ก และกระเบากลัก 

        ต้นไม้และพืชชั้นล่างชั้นล่าง เป็นไม้พุ่มที่สูงไม่เกิน 5 เมตร เช่น เข็มขาว และหัสคุณ และตามพื้นจะมีขิงข่ามากมาย เป็นแหล่งของเถาวัลย์หลายชนิดโดยเฉพาะหวาย

 

 ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)


        

        ป่าดิบเขา เป็นป่าที่พบอยู่ตามเทือกเขาในระดับสูง บริเวณภูเขาที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ประมาณ 1,000 เมตรขึ้นไป

        ป่าดิบเขา จะปกคลุมตามสันเขาและยอดเขา อากาศค่อนข้างหนาวเย็นตลอดปี ซึ่งเป็นบริเวณต้นน้ำลำธาร โดยจะกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป

        ป่าดิบเขา สภาพป่ามีเรือนยอดแน่นทึบ เนื่องจากอากาศอันหนาวเย็นและความชุ่มชื้นสูงมากตามลำต้นและกิ่งของต้นไม้จะปกคลุมด้วยพืชอิงอาศัยจำพวกมอสและไลเคนหนาแน่น โดยเฉพาะมอสชนิดต่างๆ จะปกคลุมลงมาถึงโคนต้นและคลุมพื้นดินออกไปโดยรอบ

        ต้นไม้ชั้นบนสุด อยู่สูงระหว่าง 16-23 เมตร  

        ต้นไม้ชั้นกลาง มีขนาดเล็กและขึ้นกันอยู่ห่างๆ 

        ต้นไม้และพืชชั้นล่าง มีชั้นของไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร มีไม้พื้นล่างหนาแน่นคล้ายคลึงกับป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง แน่นทึบ พื้นล่างจึงร่มครึ้มตลอดวัน


ป่าสน (Coniferous Forest)


              

        ป่าสน เป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้เด่นชัด โดยไม้ชั้นบนเป็นไม้สนล้วนๆ มีสนสองใบและสนสามใบ ปกติจะปรากฏอยู่ต่ำกว่าหรืออยู่ในระดับเดียวกันกับป่าดงดิบเขา แต่เป็นพื้นที่ที่ดินเก็บน้ำได้ไม่ดี ป่าสนจะพบที่อยู่ตามเขาและที่ราบบางแห่ง บางครั้งพบขึ้นปนอยู่กับป่าแดงและป่าดิบเขาและพวกก่อต่าง ๆ พืชชั้นล่างมีพวกหญ้าต่าง ๆ

             ป่าสน จะพบบริเวณระดับความสูง 200 – 1800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนใหญ่กระจายอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีกระจายอยู่ทางภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง เพชรบูรณ์ และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดเลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี


 ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (Fresh Water Swamp Forest)


        

        ป่าพรุ มีลักษณะเป็นป่าบริเวณที่มีพื้นด้านล่างมีน้ำขังตลอดทั้งปี โดยน้ำจะมีสภาพเป็นกรดมีสีเขียวหรือน้ำตาลเข้มที่เกิดจากการสะสมตัวของซากพืช ซากสัตว์มาอย่างยาวนาน 

        ป่าพรุในภาคกลาง จะอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม ดินระบายน้ำไม่ดีเกิดแอ่งน้ำจืดขังตัวเป็นระยะเวลานาน มีการสะสมของ ซากพืชซากสัตว์ย่อยสลายช้า ๆ กลายเป็นดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำอุ้มน้ำได้มาก 

        ป่าพรุในภาคกลาง มีลักษณะโปร่งและมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ  เช่น  ครอเทียน  สนุ่น  จิก  โมกบ้าน  หวายน้ำ  หวายโปร่ง  ระกำ  อ้อ และแขม  

        ป่าพรุในภาคใต้ จะอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำขังตลอดปีโดยมีการสะสมระหว่างดินอินทรีย์กับดินตะกอนทะเลสลับกันชั้นกัน 2-3 ชั้น 

        ป่าพรุน้ำกร่อยใกล้ชายทะเล มีต้นเสม็ดจะขึ้นอยู่หนาแน่นผสมกับต้นกกชนิดต่าง ๆ เรียก ป่าพรุเสม็ด หรือป่าเสม็ด” ส่วนที่ห่างชายทะเลเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ขึ้นปะปนกัน ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าพรุในภาคใต้ ได้แก่ อินทนิล น้ำหว้า จิก โสกน้ำ โงงงันกะทั่งหัน สำหรับไม้พื้นล่างจะประกอบด้วย หวาย ตะค้าทอง หมากแดง และหมากชนิดอื่น ๆ 

        พื้นที่ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ป่าพรุสิรินธร หรือป่าพรุโต๊ะแดง ในจังหวัดนราธิวาส


 ป่าชายเลน (mangrove forest หรือ intertidal forest)


 

        ป่าชายเลน หรือ ป่าโกงกาง ( Mangrove forest หรือ Intertidal forest) บางทีเรียกว่า "ป่าเลนน้ำเค็ม 

        ป่าชายเลนจะปรากฏอยู่ตามที่ดินเลนริมทะเลหรือบริเวณปากน้ำแม่น้ำใหญ่ ๆ ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึงมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นแต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจ ป่าชายเลนพบทั่วไปตามพื้นที่ชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ 

        ป่าชายเลนในประเทศไทยซึ่งขึ้นอยู่กระจัดกระจายตามชายฝั่งทะเล ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้

        พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลน  ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม้ขนาดเล็กใช้ประโยชน์สำหรับการเผาถ่านและทำฟืนไม้ชนิดที่สำคัญ คือ โกงกาง ประสัก ถั่วขาว ถั่วขำ โปรง ตะบูน แสมทะเล  ลำพูนและลำแพน  ฯลฯ  ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็นพวก  ปรงทะเลเหงือกปลายหมอ  ปอทะเล และเป้ง  เป็นต้น


ป่าชายหาด (Beach Forest)



    ป่าชายหาดพบกระจายตามชายทะเลที่เป็นหาดทรายเก่าน้ำท่วมไม่ถึง จะมีเฉพาะบริเวณหาดทรายตั้งแต่แนวต้นไม้ซึ่งคลื่นพัดขึ้นมาท่วมไม่ถึงคลุมลึกเข้าไปจนหมดอิทธิพลของไอเค็มจากทะเล 

    โครงสร้างของป่าชาดหาดจะเป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบที่ปกคลุมอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่ดินเป็นดินทรายจัด น้ำทะเลท่วมไม่ถึง หรือบริเวณหาดทรายเก่าที่ยกตัวสูงขึ้นหรือบริเวณที่เป็นหินชิดฝั่งทะเล ดินค่อนข้างเค็มและที่สำคัญคือมีไอเค็ม (salt spray) จากทะเลพัดเข้าถึง 

    ป่าชายหาดมีการกระจายขาดเป็นตอนๆ บางพื้นที่สลับกับป่าชายเลนและบางพื้นที่สลับกับป่าดงดิบหรือผาหิน ทางชายทะเลฝั่งภาคตะวันออกพบตั้งแต่จังหวัดชลบุรี ลงไปถึงจังหวัดตราด ทางภาคใต้พบทางฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยจากจังหวัดเพชรบุรีลงไปจนต่อเขตแดนประเทศมาเลเซีย รวมถึงเกาะต่างๆ ในอ่าวไทยด้วย และทางฝั่งตะวันตกมีพบตั้งแต่จังหวัดระนองลงไป จนถึงจังหวัดสตูลรวมทั้งหมู่เกาะน้อยใหญ่ ในทะเลอันดามันด้วยโดยเฉพาะเกาะตะรุเตามีป่าชายหาดที่สวยงามและค่อนข้างสมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง

    ต้นไม้สำคัญที่เป็นพืชทนเค็ม และมักมีลักษณะไม้เป็นพุ่มลักษณะต้นคดงอด้วยแรงลม ใบหนาแข็ง  ได้แก่  สนทะเล  หูกวาง  โพธิ์ทะเล  กระทิง  ตีนเป็ดทะเล  หยีน้ำ  มักมีต้นเตยและหญ้าต่าง ๆ ขึ้นอยู่เป็นไม้พื้นล่าง  ตามฝั่งดินและชายเขา  มักพบไม้เกตลำบิด  มะคาแต้  กระบองเพชร  เสมา และไม้หนามชนิดต่าง ๆ  เช่น  ซิงซี่  หนามหัน  กำจาย  มะดันขอ  เป็นต้น


 ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)


                 

            ป่าเบญจพรรณ หรือป่าผสมผลัดใบ เป็นป่าที่มีพรรณไม้เด่น ชนิด ได้แก่ ไม้สัก มะค่า แดง ประดู่ และชิงชัน 

                 ป่าเบญจพรรณจะพบในบริเวณที่ระดับความสูงตั้งแต่ 50-800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในพื้นที่ป่าเบญจพรรณโดยทั่วไปเป็นบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี 

          ป่าเบญจพรรณ โดยทั่วไปเป็นป่าโปร่งประกอบด้วยต้นไม้ขนาดกลางเป็นส่วนมาก พื้นที่ป่าไม่รกทึบ มีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่มาก ต้นไม้เกือบทั้งหมดในป่าเบญจพรรณจะผลัดใบในฤดูแล้ง โดยเฉพาะตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงเมษายน ซึ่งมีช่วงแห้งแล้งยาวนานเกินกว่า เดือน

                 โครงสร้างของป่าเบญจพรรณจะมีไม้ยืนต้นกระจายอยู่ห่าง ๆ กันแสงตกถึงพื้นได้มาก มีพืชตระกูลหญ้าอยู่หลายชนิด ฤดูแล้งมักเกิดไฟป่าขึ้นช่วยเผาเศษซากใบไม้แห้งที่สะสมบนพื้นป่าจึงช่วยกระตุ้นให้เมล็ดไม้หลายชนิดงอกงามดี โดยเฉพาะเมล็ดไม้สัก มะค่า และแดง ป่าชนิดนี้มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า เพราะไม่รกทึบเกินไปและมีพืชอาหารมาก จึงดึงดูดนก แมลง และสัตว์กินพืชต่าง ๆ เข้ามาอาศัย

                 ป่าเบญจพรรณในประเทศไทย แบ่งออกเป็น กลุ่ม คือ 

                1) ป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักเป็นไม้เด่น ขึ้นคละกับไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด อาทิ ประดู่ ชิงชัน มะค่าโมง แดง ไผ่ไร่ ไผ่ซางดอย และไผ่หก 

                2) ป่าเบญจพรรณที่ไม่มีไม้สักแต่มีพรรณไม้เด่นขนิดอื่นขึ้นแทน เช่น สมอพิเภก เปล้าหลวง และส้าน เป็นต้น ป่าเบญจพรรณจะพบอยู่ทั่วไปในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้ไม่ปรากฏว่ามีป่าเบญจพรรณอยู่


 ป่าเต็งรัง (Deciduous Dipterocarp Forest)


 

            ป่าเต็งรัง เป็นป่าโปร่งมีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางขึ้นอยู่กระจัดกระจาย พื้นป่าไม่รกทึบ มีหญ้าชนิดต่าง ๆ และไม้ไผ่ขึ้นอยู่โดยทั่วไป พันธุ์ไม้ในป่านี้ได้แก่ เต็ง รัง พะยอม มะขามป้อม เหียง พลวง และยางกราด เป็นต้น โดยทั่วไปความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าเต็งรังจะน้อยกว่าป่าเบญจพรรณ เพราะดินตื้นกักเก็บน้ำได้น้อย มีหินบนผิวดินมาก ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง  ป่าชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปทั้งที่ราบและที่เขาสูง ดินมักเป็นทรายและลูกรัง ซึ่งจะมีสีค่อนข้างแดง ในบางแห่งจึงเรียกว่าป่าแดง ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีป่าขึ้นตามเนินที่เรียกว่าโคก จึงเรียกว่าป่าโคก

          ป่าเต็งรังเกิดขึ้นที่ระดับความสูงประมาณ 50-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีช่วงแห้งแล้งจัดเกิน เดือนต่อปี ประกอบกับปริมาณน้ำฝนตกน้อยคือ 900-1,200 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น

                 ป่าเต็งรัง มีอยู่มากทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้และชายทะเลด้านตะวันออกไม่ปรากฏว่ามีอยู่ 

         ป่าเต็งรัง มีอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   คิดเป็น 70-80% ของป่าชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในภาคนี้ทั้งหมด 


 ป่าหญ้า (Savanna Forest)


 

 

        ป่าหญ้า เป็นป่าที่เกิดหลังจากที่ป่าชนิดอื่นถูกทำลายไปหมด สภาพดินที่เสื่อมโทรมต้นไม้ไม่อาจเจริญเติบโตต่อไปได้ พวกหญ้าจึงเข้ามาแทนที่ 

         ป่าทุ่งหญ้ามักเกิดในบริเวณ ที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 800 มิลลิเมตรต่อปี ฤดูฝนสั้น ดินขาดธาตุอาหารส่งผลให้การสืบพันธุ์ของพืชเป็นไปด้วยความยากลำบาก 

        โครงสร้างของป่าหญ้าเป็นสังคมพืชที่ปรากฏค่อนข้างน้อย มีไม้ยืนต้นกระจายอยู่ห่างๆ กัน พื้นที่ส่วนใหญ่ซึ่งมีหญ้าขึ้นหนาแน่น เช่น หญ้าคา หญ้าพง หญ้าแฝก หญ้าขนตาช้าง  หญ้าโขมง  หญ้าเพ็ก ฯลฯ บริเวณที่พอจะมีความชื้นและการระบายน้าได้ดีก็มักจะพบพงและแขมขึ้นอยู่โดยอาจจะมีต้นไม้ขึ้นอยู่บ้าง เช่น กระโดน กระถินป่า ประดู่ ซึ่งเป็นพวกทนทานไฟป่าได้ดีมาก 

        สภาพของป่าทุ่งหญ้าจะเกิดไฟป่าแทบทุกปี โดยไฟป่าจะทำลายเมล็ดของไม้ใหญ่ไปเกือบหมดหากมีการป้องกันไฟป่าอย่างจริงจัง ป่าทุ่งหญ้าก็สามารถกลายเป็นป่าใหญ่ได้

         ป่าหญ้าพบอยู่ทุกภาค ป่าทุ่งหญ้าตามธรรมชาติในเมืองไทยที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ป่าหญ้าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร




ค้นคว้าจาก

https://www.geo2gis.com/index.php/geography/221-thai-forest

https://gfms.gistda.or.th/node/37